วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 มกราคม 2560

Lesson 1



 Knowledge:

  • เป็นการปฐมนิเทศก่อนการเรียน แนะนำรายวิชาและชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน
  • ทดสอบก่อนเรียน








  • มอบหมายงาน โดยการไปค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหาร 









ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหาร
  • ·     ทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจของมาสโลว์(Maslow’s General Theory of Human & Motivation)

มาสโลว์ ได้อธิบายถึงความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง และเป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันแพร่หลายสมมติฐานดังกล่าวมีความเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ดังนี้
    1.       มนุษย์มีความต้องการ อยู่เสมอและไม่มีที่สิ้นสุด แต่สิ่งที่มนุษย์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับว่า เขามีสิ่งนั้นอยู่แล้วหรือยัง  ขนาดที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการอื่นจะเข้ามาแทนที่
   2.       ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมอีกต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นแรงจูงใจของพฤติกรรม
   3.       ความต้องการของมนุษย์มีลำดับขั้นความสำคัญ คือ เมื่อความต้องการระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะมีการเรียกร้องให้มีการตอบสนองอีกทันที
ทฤษฎีของมาสโลว์  ได้แบ่งลำดับขั้นของความต้องการ (Hierarchy of Needs) ไว้ 5 ขั้นจากต่ำไปสูง ดังนี้
1.    ความต้องการของร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อความอยู่รอด ของชีวิต ได้แก่ ความต้องการปัจจัย4 ความต้องการการยกย่อง และความต้องการทางเพศ ฯลฯ เป็นต้น
2.    ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่าความต้องการอยู่รอด  ซึ่งมนุษย์ต้องการเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้น เช่น ต้องการความมั่นคงในการทำงาน ความต้องการ ความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เป็นต้น
3.  ความต้องการด้านสังคม (Social needs) หรือความต้องการความรักและการยอมรับ (Love and  belongingness needs)  
4.   ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) ซึ่งเป็นความต้องการการยกย่องส่วนตัว (Self-esteem)  ความนับถือและสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการให้ได้การเคารพนับถือ สถานะที่ดีในสังคมและมีชื่อเสียงในสังคม
5.    ความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล ซึ่งถ้าบุคคลใดบรรลุความต้องการในขั้นนี้ได้ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลพิเศษ 

  • ·       ทฤษฎีการจูงใจ - สุขอนามัยของเฮอร์เบอร์ก (Herzberg's Motivation Hygiene Theory)

มีปัจจัยหรือองค์ประกอบ 2 ประการ  ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 

  •   องค์ประกอบจูงใจ (Motivation Factors)  เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติโดยตรง และ  เป็นสิ่งจูงใจให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย

ความสำเร็จในการทำงาน (Achievement)
การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition)
ลักษณะของงาน (Work itself)  
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ความก้าวหน้า (Advancement)

  •        องค์ประกอบค้ำจุน (Maintenance Factors) หรือองค์ประกอบสุขอนามัย(Hygiene Factors)
เป็นองค์ประกอบที่ช่วยป้องกันการปฏิบัติงานของบุคลากรที่จะเกิดความไม่ชอบงานหรือหย่อนประสิทธิภาพลง ประกอบด้วย

-          เงินเดือน (Salary)
-          โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth)
-          ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน(Interpersonal Relation, Subordinate, Peers)
-          สถานะของอาชีพ (Status)
-          นโยบายและการบริหาร (Company Policy and Administration)
-          สภาพการทำงาน (Working Condition)
-          ชีวิตส่วนตัว (Personal Lift)
-          ความมั่นคงในงาน (Job Security)

-          การปกครองบังคับบัญชา (Supervision) หรือการนิเทศงาน





Apply: 

  • เป็นการเตรียมความพร้อมและจัดบริหารเวลาในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชา
  • จากทฤษฎีที่ค้นคว้าสามารถทำไปเป็นพื้นฐานในการวางแผนการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ




Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา แนะนำ ชี้แจงรายละเอียดในรายวิชาได้ชัดเจน
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย

 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น