วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 18 มกราคม 2560

Lesson 2



 Knowledge:

  • นำเสนอคำคม
นางสาวสุทธิกานต์  กางพาพันธ์ุ  






นางสาวชนาภา คะปัญญา


นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์



  • การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย



         เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ความหมายของ 
“การบริหารการศึกษา”    ว่า 


“การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”




การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี

  • พัฒนาการของทฤษฏีทางการบริหาร








  • ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)
1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)

       Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ

2.ทฤษฏีการจัดการเชิงบริหาร (Administration management)

Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
 Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
 Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol 
    โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ

 3.ทฤษฏีการบริหารแบบราชการ (Bureaucratic management)

Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
1. มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
2. ความไม่เป็นส่วนตัว
3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
7. ความเป็นเหตุเป็นผล

  • ทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)


1. ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก (Early behavioral theories)

Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม  ใช้หลักจิตวิทยาในการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน

 Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพของบุคคล เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม

2. การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne studies)

  • การทดลองของบริษัท เวสเทิร์น อิเล็กทริก ที่เมืองฮอว์ธร์น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของแสงไฟต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
  •  ในช่วงท้ายของการทดลอง Elton Mayo ร่วมทำการทดลอง สรุปข้อค้นพบว่า
- เงินไม่ใช้สิ่งจูงใจสำคัญเพียงอย่างเดียว
- กลุ่มไม่เป็นทางการมีอิทธิพลต่อองค์การ

  • ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
1.การบริหารศาสตร์ (Management science)   มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ ซึ่งแพร่หลายได้รวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น
2. การบริหารปฏิบัติการ (Operation management) 
  • ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ
  •  กำหนดตารางการทำงาน
  • วางแผนการผลิต
  •  การออกแบบอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ
  •  การใช้เทคนิคเครื่องมือต่างๆ เช่น เทคนิคการทำนายอนาคต 
  • การวิเคราะห์รายการ ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน การวางแผน
    และควบคุมโครงการ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management Information System) 
สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs) 

  • ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
  1. ทฤษฏีเชิงระบบ  
  2.  ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์
  3. ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่   ทฤษฏี Z  ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi โดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว


Apply:  
  • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษาและยังสามารถนำไปพัฒนา
ต่อยอดได้ในการเรียนคาบต่อไป



Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารมาเป็นอย่างดีพร้อมนำเสนอ

 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น