วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 25 มกราคม 2560

Lesson 3



 Knowledge:

  • นำเสนอคำคม

นางสาววันเพ็ญ ใหม่สุด 




นางสาวจงรักษ์  หลาวเหล็ก


นางสาวรัชดา  เทพเรียน





  • บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร


 
  •  ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย


    










  • ประเภทของผู้นำ 












  • คุณสมบัติของผู้นำ


1. ความมุ่งมั่น (drive)
2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)










  • ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 

1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager) 
2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager) 
3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager) 
4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager) 
5.  ผู้บริหาร (Administrator) 


  • ภาระหน้าที่และลักษณะงานของผู้บริหาร
Henri Fayol นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส ในต้นศตรรษที่ 19 ได้เสนอหน้าที่ของผู้บริหารดังนี้ (POCCC)
1. Planning (การวางแผน) 
2. Organizing (การจัดองค์การ) 
3. Commanding (การสั่งการ) 
4. Coordinating (การประสานงาน) 
5. Controlling (การควบคุม) 

  • ทักษะของผู้บริหาร
Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1)  ทักษะด้านเทคนิค   (Technical Skills)
2)   ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์  (Human Skills) 
3)   ทักษะด้านการประสมแนวความคิด  (Conceptual Skill)


  • คุณสมบัติผู้นำตามอักษรชื่อ KAMONRAT
K   keen as mustard   กระตือรือร้น
A   ability                    ความสามมารถ , พรสวรรค์
M  machinate             วางแผนการ
O   observe                  สังเกต
N   negotiate                เจรจา,  ต่อรอง
R   response                 แจ้งข้อมูลตอบกลับ
A   assist                       ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย
T   tabbed                     แต่งตัวดี





Apply:  
  • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษาและยังสามารถนำไปพัฒนา
ต่อยอดได้ในการเรียนคาบต่อไป




Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  
 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 18 มกราคม 2560

Lesson 2



 Knowledge:

  • นำเสนอคำคม
นางสาวสุทธิกานต์  กางพาพันธ์ุ  






นางสาวชนาภา คะปัญญา


นางสาวประภัสสร คำบอนพิทักษ์



  • การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย



         เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ความหมายของ 
“การบริหารการศึกษา”    ว่า 


“การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”




การบริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าหรือผู้นำดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยใช้กระบวนการบริหารกลุ่มบุคคล กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำใหม่ เป็นผู้นำทางความคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การสร้างแรงจูงใจและจัดสรรการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เป็นกลุ่มงานที่สัมพันธ์กันอย่างดี

  • พัฒนาการของทฤษฏีทางการบริหาร








  • ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)
1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)

       Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ

2.ทฤษฏีการจัดการเชิงบริหาร (Administration management)

Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
 Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
 Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol 
    โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ

 3.ทฤษฏีการบริหารแบบราชการ (Bureaucratic management)

Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
1. มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
2. ความไม่เป็นส่วนตัว
3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
7. ความเป็นเหตุเป็นผล

  • ทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)


1. ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก (Early behavioral theories)

Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม  ใช้หลักจิตวิทยาในการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน

 Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพของบุคคล เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม

2. การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne studies)

  • การทดลองของบริษัท เวสเทิร์น อิเล็กทริก ที่เมืองฮอว์ธร์น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของแสงไฟต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
  •  ในช่วงท้ายของการทดลอง Elton Mayo ร่วมทำการทดลอง สรุปข้อค้นพบว่า
- เงินไม่ใช้สิ่งจูงใจสำคัญเพียงอย่างเดียว
- กลุ่มไม่เป็นทางการมีอิทธิพลต่อองค์การ

  • ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
1.การบริหารศาสตร์ (Management science)   มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ ซึ่งแพร่หลายได้รวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น
2. การบริหารปฏิบัติการ (Operation management) 
  • ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ
  •  กำหนดตารางการทำงาน
  • วางแผนการผลิต
  •  การออกแบบอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ
  •  การใช้เทคนิคเครื่องมือต่างๆ เช่น เทคนิคการทำนายอนาคต 
  • การวิเคราะห์รายการ ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน การวางแผน
    และควบคุมโครงการ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management Information System) 
สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs) 

  • ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
  1. ทฤษฏีเชิงระบบ  
  2.  ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์
  3. ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่   ทฤษฏี Z  ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi โดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว


Apply:  
  • เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการเรียนรายวิชาการบริหารสถานศึกษาและยังสามารถนำไปพัฒนา
ต่อยอดได้ในการเรียนคาบต่อไป



Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารมาเป็นอย่างดีพร้อมนำเสนอ

 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย



วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธที่ 11 มกราคม 2560

Lesson 1



 Knowledge:

  • เป็นการปฐมนิเทศก่อนการเรียน แนะนำรายวิชาและชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน
  • ทดสอบก่อนเรียน








  • มอบหมายงาน โดยการไปค้นคว้าทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหาร 









ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหาร
  • ·     ทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจของมาสโลว์(Maslow’s General Theory of Human & Motivation)

มาสโลว์ ได้อธิบายถึงความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง และเป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันแพร่หลายสมมติฐานดังกล่าวมีความเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ดังนี้
    1.       มนุษย์มีความต้องการ อยู่เสมอและไม่มีที่สิ้นสุด แต่สิ่งที่มนุษย์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับว่า เขามีสิ่งนั้นอยู่แล้วหรือยัง  ขนาดที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการอื่นจะเข้ามาแทนที่
   2.       ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมอีกต่อไป ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองเท่านั้นที่เป็นแรงจูงใจของพฤติกรรม
   3.       ความต้องการของมนุษย์มีลำดับขั้นความสำคัญ คือ เมื่อความต้องการระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็จะมีการเรียกร้องให้มีการตอบสนองอีกทันที
ทฤษฎีของมาสโลว์  ได้แบ่งลำดับขั้นของความต้องการ (Hierarchy of Needs) ไว้ 5 ขั้นจากต่ำไปสูง ดังนี้
1.    ความต้องการของร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อความอยู่รอด ของชีวิต ได้แก่ ความต้องการปัจจัย4 ความต้องการการยกย่อง และความต้องการทางเพศ ฯลฯ เป็นต้น
2.    ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่าความต้องการอยู่รอด  ซึ่งมนุษย์ต้องการเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้น เช่น ต้องการความมั่นคงในการทำงาน ความต้องการ ความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เป็นต้น
3.  ความต้องการด้านสังคม (Social needs) หรือความต้องการความรักและการยอมรับ (Love and  belongingness needs)  
4.   ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) ซึ่งเป็นความต้องการการยกย่องส่วนตัว (Self-esteem)  ความนับถือและสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการให้ได้การเคารพนับถือ สถานะที่ดีในสังคมและมีชื่อเสียงในสังคม
5.    ความต้องการประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล ซึ่งถ้าบุคคลใดบรรลุความต้องการในขั้นนี้ได้ จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลพิเศษ 

  • ·       ทฤษฎีการจูงใจ - สุขอนามัยของเฮอร์เบอร์ก (Herzberg's Motivation Hygiene Theory)

มีปัจจัยหรือองค์ประกอบ 2 ประการ  ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ 

  •   องค์ประกอบจูงใจ (Motivation Factors)  เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติโดยตรง และ  เป็นสิ่งจูงใจให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย

ความสำเร็จในการทำงาน (Achievement)
การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition)
ลักษณะของงาน (Work itself)  
ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ความก้าวหน้า (Advancement)

  •        องค์ประกอบค้ำจุน (Maintenance Factors) หรือองค์ประกอบสุขอนามัย(Hygiene Factors)
เป็นองค์ประกอบที่ช่วยป้องกันการปฏิบัติงานของบุคลากรที่จะเกิดความไม่ชอบงานหรือหย่อนประสิทธิภาพลง ประกอบด้วย

-          เงินเดือน (Salary)
-          โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth)
-          ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน(Interpersonal Relation, Subordinate, Peers)
-          สถานะของอาชีพ (Status)
-          นโยบายและการบริหาร (Company Policy and Administration)
-          สภาพการทำงาน (Working Condition)
-          ชีวิตส่วนตัว (Personal Lift)
-          ความมั่นคงในงาน (Job Security)

-          การปกครองบังคับบัญชา (Supervision) หรือการนิเทศงาน





Apply: 

  • เป็นการเตรียมความพร้อมและจัดบริหารเวลาในการทำงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชา
  • จากทฤษฎีที่ค้นคว้าสามารถทำไปเป็นพื้นฐานในการวางแผนการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ




Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา แนะนำ ชี้แจงรายละเอียดในรายวิชาได้ชัดเจน
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย

 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย