วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธ ที่ 22 มีนาคม 2537

Lesson 9



 Knowledge:


  • นำเสนอคำคมการบริหาร

นางสาววัชรี  วงศ์สะอาด

"ทุกคนเป็นอัจฉริยะ 

แต่ถ้าคุณตัดสินปลา

โดยความสามารถ

 ในการปืนต้นไม้

ทั้งชีวิตมันจะคิดว่ามันโง่"


นางสาวยุภา  ธรรมโครต

อย่าพึ่งคิดบริหารธุระกิจ

ถ้าแค่...

"บริหารชีวิต"

ยังไม่เป็น




  • นำเสนอบทบาทการเป็นผู้บริหาร


























Apply:  
  • ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงเทคนิคการปฏิบัติตัวการพัฒนาบุคคลิกภาพเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการเป็นผู้บริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ
Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธ ที่ 15 มีนาคม 2560

Lesson 8



 Knowledge:



  • เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร



ความหมายของบุคลิกภาพ

                บุคลิกภาพภายนอก สามารถสังเกตเห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึกเลียนแบบ และสามารถวัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกายและวาจา 

บุคลิกภาพภายใน  บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส

สาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ คือความท้อถอย
บุคลิกภาพที่ไม่สร้างสรรค์และอยู่ภายในตัวตนแล้วทำให้ความเป็นคนๆ นั้นไม่สมบูรณ์ ได้แก่ความท้อถอยแม้ว่าเป็นประโยคสั้นๆ แต่ถ้าอาการนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้ว อาการนี้จะเข้ามาทำลายความสมดุลในตัวเรา เข้ามาแทรกในความรู้สึกนึกคิดทำให้พลังและศักยภาพของเราลดน้อยลงกว่าครึ่ง ในเรื่องความท้อถอยมักเกิดขึ้นกับบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลในช่วงอายุอื่นจะไม่มีความท้อ บางท่านอาจเกิดอาการท้อเป็นช่วงๆ บางท่านโชคดีไม่รู้จักความท้อ 

ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์   
2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย 
3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของคนบางท่านอาจจะรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ

แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย

1. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น 
2. อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม 
3. สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า 
“งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน”
4. มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ 

ครูกับการพัฒนาตน

. ครูควรพัฒนาตนเองใน 2 ลักษณะคือ

1. การพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่
- การพัฒนาในด้านความรู้
- การพัฒนาในด้านเทคโนโลยี
- การพัฒนาในด้านคุณลักษณะกับเจตคติ
2. การพัฒนาตนในด้านการเป็นสมาชิกของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 
- การรู้จักตนเองและการเข้าใจตนเอง
- การสำรวจตนเอง
- การปรบปรุงตนเองในด้าน การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก – ภายใน การพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาการเรียนรู้


หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ

การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม  
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ 
การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น  
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด


ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี
ไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
 1.  มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
  2.  มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
 3.  มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
 4.  มีความกระตือรือร้น ที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
 5.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
 6.  มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา   7.  มีความรอบรู้                    
 8.  ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
 9.  มีความจำแม่น                 
10.   วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ


Apply:  
  • ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงเทคนิคการปฏิบัติตัวการพัฒนาบุคคลิกภาพเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการเป็นผู้บริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ
Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย


วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธ ที่ 8 มีนาคม 2560

Lesson 7



 Knowledge:


  • นำเสนอคำคม
นางสาวปัณฑิตา  คล้ายสิงห์




นางสาวชนากานต์ แสนสุข






นางสาวสุจิตรา  มาวงษ์


นางสาวภัทรวรรณ  หนูแก้ว

นางสาวศุทธินี  โนนริบูรณ์
















  • นำเสนอวิจัยที่เกี่ยวข้องการบริหาร  (งานกลุ่ม )
กลุ่มที่ 1  วิจัยเรื่อง  ความเป็นผู้บริหารมือชีพของมหาบัณฑิต 


สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 ผู้วิจัย    อัญชลี พิมพ์พจน์   ปีการศึกษา   2553



วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใน 9 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน  ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านวิจัยทางการศึกษา  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ตามความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานขิงมหาบัณฑิต
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของมหาบัณฑิตและผู้ร่วมงานของมหาบัณฑิตในความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ของมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา   มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำแนกตามสถานภาพ หน่วยงานที่สังกัดและปีที่สำเร็จการศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.  มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารการศึกษา
อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม และระบบ
คุณค่าแห่งสังคมไทยโดยรวม ท้องถิ่นและชุมชน
2.  เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก้าวทันมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง
3.  มีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อประโยชน์ต่อการบริหาร
การศึกษาให้บรรลุผล และมีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้า สามารถนําเอา
ทฤษฎีหรือผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริหารการศึกษา
4.  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทํางาน
5.  มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม

กลุ่มที่ 2  วิจัยเรื่่อง การศึกษาสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 


1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ ในด้านการจัดการการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศ และการส่งเสริมการวิจัยจำแนกตามตัวแปรประสบการณ์สอนและขนาดของโรงเรียน
3. เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตภาษีเจริญ

สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้จากวิจัย

สมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยโดยรวมครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์สอนต่างกันมีความคิดเห็นต่อ สมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาหลักสูตรโดยครูที่มีประสบการณ์สอน 5 ปีขึ้นไปมีสมรรถนะการบริหารงานวิชาการมากกว่าครูที่มีประสบการณ์สอนต่ำกว่า 5 ปี การปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการบริหารด้านวิชาการระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษา



กลุ่มที่ 3 วิจัยเรื่อง การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย    การศึกษาระดับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต   มหาวิทยาลัยศิลปกร
ผู้วิจัยนางสาวกัญวัญญ์  ธารีบุญ   ปีการศึกษา 2557



วัตถุประสงค์ของการวิจัย 


1. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
2. เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารศาสตร์ศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย
3. เพื่อทราบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


  1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
  2. เพื่อให้บุคลากรรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญในหน้าที่ของตน และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ
  3. เกิดการยอมรับ และสร้างความมั่นใจในคุณค่าของการทำงานเป็นทีม และรู้สึกว่าตนเองมีค่าต่อทีมเสมอ และแสดงความสามารถมากขึ้น
  4. ส่งผลให้องค์การมีโอกาสก้าวหน้าในงาน เกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ จะช่วยจูงใจให้เกิดการเสียสละ อุทิศตนในงาน
  5. โรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัยสามารถนำงานวิจัยชิ้นนี้ไปพัฒนาโรงเรียนของตนเองได้



Apply:  
  • ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการบริหารเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติการเป็นผู้บริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ
Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย

วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนประจำวันพุธ ที่ 1 มีนาคม 2560

Lesson 6



 Knowledge:


  • การวิเคราะห์เชิงปฏิบัติ (swot  analysis  workshop)









  • S    คือ  จุดแข็ง
  1. งานที่เราถนัดทำแล้วมีความสุข
  2. งานโดดเด่นที่ชุมชนชื่นชอบ
  3. อะไรที่ชุมชนมีความต้องการให้เราทำซ้ำอีก
  4. ทรัพยากรและเครื่องมือที่เรามีความพร้อม
  • W   คือ  จุดอ่อน
  1. งานที่เราทำแล้วไม่สบายใจ
  2. ความต้องการที่จะรับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานหรือทักษะบางอย่างที่เรายังไม่มั่นใจ
  3. ขาดทรัพยากรในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

  • O    คือ โอกาส
  1. โอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ
  2. มีเครื่องมือใหม่ที่ได้รับการสนับสนุุน
  3. มีช่องว่างทางการตลาดที่เรามองเห็น
  4. เครือข่ายมีศักยภาพทำให้งานสำเร็จง่ายขึ้น

  • T    คือ  อุปสรรค
  1. ใครคือคู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าเรา ความขัดข้องที่จะเกิดจากเราเอง

  • ทำแบบทดสอบ SWOT  และการยอมรับตนเอง







Apply:  
  • ทำให้เราได้เรียนรู้ความคิด ความรู้สึกของตัวเองและจากความคิดเห็นของบุคคลรอบข้างที่มองเห็นสิ่งต่างๆในตัวเรา ทำให้เรานำไปเป็นข้อพิจารณาและพัฒนา แก้ไขตัวเองในด้านต่างๆให้เหมาะสมและดียิ่งขึ้น


Evaluation: 

 Teacher :  
  • เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาได้ละเอียดชัดเจนตรงตามเนื้อหาที่เรียน 
   Friends:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  มีการเตรียมการนำเสนอมาอย่างดี
 Self:  
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย